Technology design
kittiyaphorn soisaena m.2/1 no.32
สาระน่ารู้คณิตศาสตร์
การบวกพหุนาม
พิจารณาสองพหุนามต่อไปนี้
3x-6 และ 2x+9
เขียนพหุนามทั้งสองนี้ในรูปการบวกดังนี้
(3x-6)+(2x+9)
เมื่อทำพหุนาม (3x-6)+(2x+9) ให้เป็นพหุนามในรูปผลสำเร็จ จะได้ดังนี้
(3x-6)+(2x+9) = 3x-6+2x+9
= (3x+2x)+(-6+9)
= 5x+3
เรียกพหุนาม ว่าผลบวกของพหุนาม 3x-6 และ 2x+9
นั่นคือ(3x-6)+(2x+9) = 5x+3
การหาผลบวกของพหุนามใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
การหาผลบวกของพหุนามทำได้โดยนำพหุนามมาเขียนในรูปการบวกและถ้า มีพจน์ที่คล้ายกัน ให้บวกพจน์ท่คล้ายกันเข้าด้วยกัน
การลบพหุนาม
การลบพหุนามทำได้ในทำนองเดียวกันกับการลบเอกนามโดยเขียนพหุนามในรูปการลบให้อยู่ในรูปการบวกพหุนาม ซึ่งต้องใช้พหุนามตรงข้าม
พิจารณาพหุนาม x-4
เราจะหาพหุนามที่นำมาบวกกับพหุนาม x-4 แล้วได้พหุนาม 0
เนี่ยงจาก (x-4)+(-x+4) = x-4-x+4
= 0
ดังนั้นพหุนาม -x+4 เป็นพหุนามที่นำมาบวกกับพหุนาม x-4 แล้วได้พหุนาม 0 เรียกพหุนาม -x+4 ว่า พหุนามตรงข้ามของพหุนาม x-4
เขียนแทนพหุนามตรงข้ามของพหุนาม x-4 ด้วย -(x-4) นั่นคือ -(x-4) = -x+4
และเมื่อพิจารณาแต่ละพจน์ของพหุนาม -x+4 กับ x-4 จะเห็นว่า
-x+x = 0 เรียกว่า -x ว่าพจน์ตรงข้ามของ x
และ 4+(-4) = 0 เรียก 4 ว่าพจน์ตรงข้ามของ -4
จึงกล่าวได้ว่า พหุนามตรงข้ามของ x-4 คือ ผลบวกของพจน์ตรงข้ามของแต่ละพจน์ของ x-4
โดยทั่วไป เราสามารถแสดงได้ว่า พหุนามตรงข้ามของพหุนามใดเท่ากับผลบวกของพจน์ตรงข้ามของแต่ละพจน์ของพหุนามนั้น
การหาผลลบของพหุนามสองพหุนาม ทำตามข้อตกลงดังนี้
พหุนามตัวตั้ง - พหุนามตัวลบ = พหุนามตัวตั้ง + พหุนามตรงข้ามของพหุนามตัวลบ